วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาวิชา Law 3016 พร้อมขอบเขตแนวข้อสอบ ฉบับ อ่านเข้าใจง่าย






     แนวข้อสอบวิชานี้สามารถใช้ได้ทุกภาคการศึกษาเพราะข้อสอบจะออกเนื้อหานี้ทุกเรื่องครับ


( คำอธิบายประเด็นต่างๆวิชา LAW 3016 )

1. โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน 3 ส่วน

( ส่วนกลาง / ภูมิภาค / ท้องถิ่น )

#ส่วนกลาง = กระทรวง,กรม
#ภูมิภาค = จังหวัด,อำเภอ,ตำบล,หมู่บ้า
#ท้องถิ่น = อบจ,อบต,กทม,เทศบาล,พัทยา

2. รวมอำนาจ / แบ่งอำนาจ / กระจายอำนาจ

( รวมอำนาจ คือ ส่วนกลางรวมอำนาจทางการสั่งการ,บริหาร,การต่างประเทศ,ความมั่นคง เป็นต้น แล้วรวมไว้ที่ส่วนกลางซึ่งประกอบไปด้วย กระทรวงและกรมเหตุผลที่รวมอำนาจก็เพื่อการสร้างเอกภาพในการสั่งการเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน )

( แบ่งอำนาจ คือ การที่ส่วนกลางแบ่งอำนาจและหน้าที่บางส่วนจากส่วนกลางมาให้ส่วนภูมิภาคดำเนินการแทนเหตุผลก็เพื่อการแบ่งเบาภาระจากส่วนกลาง )

( กระจายอำนาจ คือ การที่ส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารราชการแผ่นดินโดยลักษณะของการกระจายอำนาจในส่วนท้องถิ่นนั้นจะมีการเลือกตั้งในท้องถิ่น,สภาบริหาร,สภานิติบัญญัติ,การจัดเก็บภาศีท้องถิ่นและก็การดำเนินนโยบายพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น

3. การควบคุมบังคับบัญชา คือ การที่ส่วนกลางสามารถที่จะทำการ โอน เปลี่ยนแปลง สงวน ระงับ หรือโยกย้ายข้าราชการในส่วนภูมิภาคได้กล่าวคือส่วนภูมิภาคจะต้องปฏิบัติงานตามแผนและนโยบายจากส่วนกลางนั่นเอง

4. การควบคุมกำกับ คือ การที่ส่วนภูมิภาคหรือส่วนกลางจะไม่สามารถไปล้วงลูกหรือไปดำเนินการควบคุมบังคับบัญชาการทำงานในส่วนภูมิภาคได้จะทำได้เพียงแต่การกำกับดูแลการทำงานให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายเท่านั้น เช่น ผู้ว่าจังหวัดไม่สามารถไปโยกย้ายนายก อบต. ได้ เป็นต้น

5. การใช้อำนาจดุลยพินิจ คือ การใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชา,เจ้าหน้าที่รัฐ,หน่วยงานของรัฐ ในการที่จะก่อให้เกิดผลบางสิ่งบางอย่างขึ้น เช่น นาย ก. อยากไปประจำการในสามจังหวัดชายแดนจึงยื่นหนังืสอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาผลปรากฎว่าได้รับการอนุญาติจึงได้มีคำสั่งเป้นหนังสือราชการให้นาย ก.ไปประจำการได้ เป็นต้น

6. การใช้อำนาจดุลยผูกพันธ์ คือ การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ,หน่วยงานของรัฐ โดยที่มีกรอบของกฎหมายได้บัญญัติถึงระเบียบและข้อบังคับไว้ให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐจะต้องตัดสินและใช้อำนาจตามข้อระเบียบหรือข้อบังคับที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เช่น การจดทะเบียนสมรส,การทำบัตรประชาชน เป็นต้น

7. กฎหมายปกครอง คือ อะไร ?

( กฎหมายปกครองคือกฎหมายที่มีความสัมพันธืระหว่างรัฐกับเอกชนโดยกฎหมายปกครองนั้นเป็นกฎหมายที่ไม่มีความเท่าเทียมกันเหตุผลเพราะว่ากฎหมายปกครองนั้นใช้เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ )

8. กฎหมายปกครองมีอะไรบ้าง ?

( 1. รัฐธรรมนูญ 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3. พระราชบัญญัติ 4. พระราชกำหนด 5. ประมวลกฎหมาย 6. ประกาศคณะปฏิวัติ )

9. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

( การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะมีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใดๆ )

10. มาตรา 9 พรบ.จัดตั้งศาลปกครอง พ.ศ.2542

( มี 4 หลักการใหญ่ๆ )

- การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ
- การละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ
- การละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ
- สัญญาทางปกครอง

11. ความหมายของ กฎ

( มีหลักการ ดังนี้ )

- ใช้บังคับเป็นการทั่วไป
- ใช้กับคนหมู่มาก
- ไม่กระทบถึงสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
- ไม่ผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

( กฎมีอะไรบ้าง )

- พระราชกฤษฏีกา
- กฎกระทรวง
- ประกาศกระทรวง
- ระเบียบ
- ข้อบังคับ
- ข้อบัญญัติท้องถิ่น

12. คำสั่งทางปกครอง

( มีหลักการ ดังนี้ )

- ผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล
- มีผลในการ โอน เปลี่ยนแปลง สงวน ระงับ
- กระทบถึงสิทธิและหน้าที่ของประชาชน

#คำสั่งทางปกครองภายใน = ไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง
#คำสั่งทางปกครองภายนอก = เป็นคำสั่งทางปกครอง

( ลักษณะคำสั่งทางปกครอง )

#คำสั่งทางปกครองแบบปากเปล่
#คำสั่งทางปกครองที่เป็นหนังสือ

13. สัญญาทางปกครอง

( มีหลักการ ดังนี้ )

- เป็นสัญญาระหว่างรัฐกับเอกช
- จุดประสงค์ของสัญญาเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ
- เป็นสัญญาเพื่อการจัดสรรทรัพยากร

14. สัญญาทางแพ่ง

( มีหลักการ ดังนี้ )

- เป็นสัญญาระหว่างเอกชนกับเอกชน
- จุดประสงค์ของสัญญาเพื่อผลประโยชน์ของเอกชน

15. กฎหมายปกครองใช้อย่างไร ?

( กฎหมายปกครองนัน้ใช้ผ่านทางเจ้าหน้าที่ของรัฐ,หน่วยงานของรัฐโดยทั้งเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐนั้นจะได้อำนาจจากกฎหมายเพื่อนำไปใช้ )

16. ใครเป็นผู้ใช้กฎหมายปกครอง

( เจ้าหน้าที่รัฐ,หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่นๆที่รัฐให้อำนาจในการใช้อำนาจทางปกครอง )

17. หลักสุจริต,หลักประโยชน์สาธาณณะ,หลักนิติรัฐ,หลักนิติธรรม,หลักความคุ้มค่า

- หลักสุจริต คือ การใช้อำนาจทางปกครองใดๆนั้นจะต้องยึดในความโปร่งใสหรือซื่อสัตย์

- หลักประโยชน์สาธารณะ คือ การใช้อำนาจทางปกครองจะต้องใช้เพื่อการตอบสนองของประโยชน์ของประชาชน

- หลักนิติรัฐ คือ การใช้อำนาจทางปกครองนั้นจะต้องยึดกฎหมายเป็นใหญ่

- หลักนิติธรรม คือ การใช้อำนาจทางปกครองนั้นจะต้องใช้อย่างเป็นธรรมไม่สองมาตรฐานและไม่เลือกปฏิบัติ

- หลักความคุ้มค่า คือ การใช้อำนาจทางปกครองนั้นจะต้องให้เกิดความคุ้มค่าในผลประโยชน์ของส่วนรวมที่จะได้รับ

#พี่บูม เขียน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น