วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

10 เว็บไซต์เรียนภาษาอังกฤษฟรีขั้นเทพ


ห่างหายไปนานจากการเขียนบทความวันนี้พี่เลยถือโอกาสสุดยอดเว็บไซต์เรียนภาษาอังกฤาฟรีที่ทุกๆคนก็สามารถศึกษาได้แค่มีคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือครับ

1. เว็บไซต์ BBC.co.uk

มาเรียนกันชิวๆอ่านข่าวหรือจะหาศัพท์เจ๋งๆในนี้ก็ได้
2. เว็บไซต์ BritishCouncil

เนื้อหาแน่ๆกับเว็บไซต์นี้เลยจ้า


3. เว็บไซต์ StudentWeekly




เมื่อพูดถึงแรมม่าหรือไวยากรณ์พี่ขอแนะนำเว็บนี้เลยครับ







4. เว็บไซต์ EnglisStore




รวบรวมข้อสอบภาษาอังกฤษไว้เพียบสำหรับเว็บนี้




5. 

เว็บไซต์ EnglishAtHome



เว็บนี้ก็แหล่งรวบรวมข้อสอบแบบฝึกหัดไว้มากมายเหมือนกันขอแนะนำเลยจ้า






6. เว็บไซต์ Grammar

สำหรับเว็บนี้จะเน้นในเรื่องการอ่านและการเขียนครับใครที่ฝึกด้านนี้เว็บนี้ขอแนะนำ




7. เว็บไซต์ SimpleEnglishNews

เว็บไซต์ข่าวสารต่างๆและคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันครับ




8. เว็บไซต์ AudioEnglish

สำหรับเว็บนี้มีคลิบเสียงให้ฝึกฟังภาษาอังกฤากันเพียบครับ

9. เว็บไซต์ YouTubeVOALearningEnglish

เป็น User ของ Youtube ที่รวบรวมไว็บไซต์ในการเรียนภาษาอังกฤาไว้มีประโยชน์มากๆครับ


10. เว็บไซต์ CareerAdvice

อีกเว็บไซต์นึงที่น่าสนใจไม่แพ้กันครับ


ในยุคสมัยนี้สื่อการเรียนรู้และฝึกฝนภาษาอังกฤษมีเยอะมากๆครับ ฉะนั้น ภาษาอังกฤาจะไม่ยากแล้วถ้าเรารู้จักใช้เครื่องมือ IT ให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ

( P. Boom ) รวบรวม

กดติดตาม Facebook ผู้เขียนที่ https://www.facebook.com/tutorkrisada


วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเลือกแผนการเรียน คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง


( การเลือกแผนการเรียน คือ อะไร )

   มีน้องๆทักแชทเข้ามาถามพี่เยอะมากๆครับว่าเราจะเลือกแผนการเรียนได้ตอนไหนและก็ต้องเลือกยังไง วันนี้พี่จะมาอธิบายในประเด็นนี้ให้เข้าใจกันครับ

ต้องขอเกริ่นก่อนเลยนะครับสำหรับการเรียนรัฐศาสตร์ในคณะที่เราเรียน ณ ปัจจุบันนั้นมีทั้งหมด 4 แผนการเรียน คือ

- แผน A การเมืองการปกครอง
- แผน B ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- แผน C บริการรัฐกิจ
- แผน D บริหารงานยุติธรรม ( ไม่เปิดให้เรียนแล้ว )

ในวันนี้พี่จะมาอธิบายแค่ในเรื่องการเลือกแผนการเรียนนะครับเพื่อไม่ให้ยาวจนเกินไป

น้องๆนักศึกษาปี 1 นั้นในเทอมแรกที่น้องสมัครเรียนทางมหาลัยจะมีใบรายวิชาแค่ไม่เกิน 24 หน่วยกิตเท่านั้นซึ่งวิชาส่วนใหญ่ก็จะเป็นวิชาพื้นฐานทั้งนั้นและจากคำถามที่น้องๆถามมาว่าเราจะเลือกแผนตอนไหนพี่ก็ขอบอกไว้เลยน๊ะครับว่าในปีที่ 2 ครับซึ่งการเลือกแผนการเรียนนั้นทางมหาลัยไม่มีหนังสืออะไรให้ทั้งนั้นให้น้องต้องเซ็นต์ครับเพียงแต่น้องๆต้องไปที่ตึกคณะรัฐศาสตร์ ( ตึกเก่า ) ชั้นที่ 2 และไปถามเจ้าหน้าที่เพื่อขอใบแผนครับและมาดูว่าเราชอบสายวิชาในแผนไหนก็ลงทะเบียนเรียนรายวิชาตามใบแผนที่น้องๆชื่นชอบครับ

( ตึกคณะรัฐศาสตร์อยู่ตรงไหน )



ตึกคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
   ในมหาลัยของเรานั้นจะมีตึกรัฐศาสตร์อยู่สองตึก คือ ตึกเก่าและตึกใหม่ ( ตึกสูงๆ ) และถ้าน้องๆอยากจะได้ใบแผนน้องก็ต้องไปที่ตึกเก่าซึ่งอยู่ตรงข้ามกับตึก VKB ( ตึกที่ลงทะเบียน ) และน้องๆก็ขึ้นไปที่ชั้น 2 และบอกกับเจ้าหน้าที่ว่ามาขอใบแผนแค่นี้น้องๆก็จะได้ใบแผนมาเทียบดูวิชาเพื่อที่น้องจะเลือกวิชาของแต่ละแผนที่น้องอยากจะเรียนแล้วครับ
ใบแผนการเรียนมีครบทุกแผนเลยจ้า



( P.Boom ) เขียน


กดติดตาม Facebook ผู้เขียนที่ https://www.facebook.com/tutorkrisada

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำพูดยอดฮิตที่เด็กรามมักไม่ชอบให้โดนถาม


  สวัสดีครับน้องๆหลังจากช่วงนี้เจอแต่บทความเครียดๆกันมาเยอะวันนี้พี่ก็จะมาเขียนบทความแบบเบาสมองอ่านสนุกแต่แฝงไปด้วยกำลังใจให้อ่านกันครับ น้องๆคงอาจจะเจอคนรอบข้างดูถูกมาต่างๆนานาจากคำพูดที่หลากหลายและวันนี้พี่ก้จะมาเขียนในเรื่องคำพูดยอดฮิตที่น้องๆต้องเจอถามและก็อาจจะไม่ชอบใจแน่ๆถ้าได้โดนถามครับ

1. จะจบยัง ?

คำพูดยอดฮิตคำหนึ่งที่เด็กรามแทบทุกคนจะต้องถูกถามและก็อาจจะไม่ชอบใจเท่าไหร่ถ้าคนที่ไม่รู้จักเรามาถามเราแบบนี้

2. จบเมื่อไหร่ ?

ดูเผินๆมันก็ดูเป็นคำพูดที่ธรรมดานะแต่สำหรับเด็กรามแล้วมันไม่ธรรมดาจริงๆ

3. ลูกฉันจบแล้วนะ

โอ้ววโหววลูกของคุณจะจบก็เรื่องของคุณแต่การมาพูดแบบนี้มันก็เหมือนกับการดูถูกอย่างนึงที่ว่าลูกของฉันจบแต่เด็กที่เรียนรามมันเรียนไม่จบซักทีเพราะมีโควต้าให้ตั้ง 8 ปีแหนะ

4. เรียนรามจะจบหรือป่าว

คำนี้สุดแสนจะเจ็บเมื่อเจอคนในซอยหรือในหมู่บ้านเราแบบนี้เด็กรามอย่างเราก็ได้แต่ฟังหูไว้หูแล้วก็รีบเรียนให้จบเพื่อลบคำดูถูกเหล่านั้น

5. จะท้องก่อนจบหรือป่าว ?

คำพูดนี้ก็คงจะเน้นย้ำเฉพาะผู้หญิงที่คนข้างนอกมักจะบอกกันว่าเด็กเรียนรามมักจะชิงสุกก่อนห่ามซึ่งก็ถือว่าเป็นคำดูถูกอีกแบบนึงที่มักจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่

อยากจะฝากน้องๆนะครับไม่ว่าน้องๆจะโดนใครดูถูกต่างๆนานาแต่สิ่งที่น้องๆต้องทำนั้นไม่ใช่หลงไปตามคำดูถูกเหล่านั้นแต่เราจะต้องเอาชนะคำดูถูกเหล่านั้นด้วยการเรียนให้จบให้ได้เพื่อความสำเร็จของตัวเราและคนที่รอเราอยู่ที่บ้านครับ

" ความฝันกับความจริงต่างกันและการลงมือทำ "

( P. Boom ) เขียน


วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ในเทอมต่อๆไปข้อสอบของคณะรัฐศาสตร์จะยากมากยิ่งขึ้น


  สวัสดีครับหลายๆท่าน ณ เวลานี้ก็จะผ่านพ้นในช่วงของการสอบมาแล้วและก็กำลังจะเข้าสู่ช่วงในการลงทะเบียนเรียนในเทอมหน้าและจากที่ช่วงนี้มีน้องๆมาทักแชทคุยกับพี่ว่าชีทแดงเอาไม่อยู่แล้วหรือต่างๆนานาและวันนี้พี่จะมาพูดถึงข้อสอบในเทอมหน้าและเทอมต่อๆไปว่ามันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างและสาเหตุอะไรที่ทำให้ข้อสอบของคณะรัฐศาสตร์มีความยากมากยิ่งขึ้นครับ

1. ช่วงต้นของการเปลี่ยนข้อสอบ

ในประเด็นนี้เราคงต้องย้อนไปพูดคุยกันในช่วงที่คณะรัฐศาสตร์ได้เปลี่ยนข้อสอบปรนัยของแผน C ไปเป็นอัตนัยและบางวิชาของปรนัยไปเป็นอัตนัยซึ่งในช่วงนี้ข้อสอบก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักชีทแดงยังพอเอาอยู่นั่นก็เพราะว่าทางคณะต้องการให้นักศึกษามีการปรับตัวในช่วงภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงครับผม

2. ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงข้อสอบ

ในช่วงนี้ข้อสอบเริ่มหนีชีทแดงแล้วครับดูตัวอย่างจากวิชา POL 2101 หรือ HIS 1003 หรือวิชาอื่นๆที่เป็นปรนัยและชีทแดงเอาไม่อยู่นั่นก็เพราะว่าทางคณะกำลังต้องการที่จะยกระดับคุณภาพทางการศึกษาโดยออกข้อสอบในแต่ละเทอมไม่ให้ซ้ำกันครับและแน่นอนเมื่อมีข้อสอบออกมาแบบนี้การเรียนและการเตรียมตัวของนักศึกษาก็ต้องมีการขวนขวายมากยิ่งขึ้น

3. อนาคตต่อไปข้อสอบจะยากทวีคูณมากขึ้น

ถ้าพูดถึงอนาคตของห้วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงข้อสอบของคณะรัฐศาสตร์พี่ก็สามารถพูดได้เต็มปากครับว่าทั้งชีทแดง,ชีทเจาะเกราะ หรือชีทอื่นๆที่ซื้อจากหน้ารามนั้นล้วนจะใช้การไม่ได้ในการเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ครับและคาดว่าจะอยู่ไปอย่างนี้ถึง 20 - 30 ปีครับเพราะตอนนี้ทางคณะมีอาจารย์ใหม่ๆเข้ามาทำงานแทนอาจารย์เก่าๆที่เกษียณอายุลงไปและอาจารย์ใหม่ๆเหล่านี้นี่แหละครับที่มีไฟที่ต้องการมาเปลี่ยนแปลงการเรียนแบบเดิมๆที่พึ่งแต่ชีทหน้ารามแต่ยุคใหม่ของคณะรัฐศาสตร์รามคำแหงนั้นชีทหน้าเราจะใช้การไม่ได้ครับ

4. วิธีการรับมือในช่วงการเปลี่ยนแปลง

ไม่มีอะไรยากเย็นเกินกว่าที่คนตั้งใจจะทำนั่นคือการอ่านหนังสือให้หนักขึ้น ค้นคว้าให้หนักขึ้นโดยเฉพาะคนทำงานก็ต้องมีวินัยในการบริหารเวลาของตนเองมากยิ่งขึ้นครับเพราะว่าเด็กนิติศาสตร์เรียนยากกว่าเราเยอะและทำไมเด็กรัฐศาสตร์จะผ่านมันไปไม่ได้ ฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อเปลี่ยนแปลงเราก็ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมอยู่เสมอครับ

( P. Boom ) เขียน

Cr รูปภาพ / PR Ramkhamhaeng University 



วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เตรียมรับมืออย่างไรในยุคที่ข้อสอบออกไม่ตรงกับแนวของอาจารย์ผู้สอน ( ฉบับสับขาหลอก )


   ช่วงนี้น้องๆลูกพ่อขุนหลายๆคนคงจะอยู่ในช่วงแห่งการสอบกันอยู่นะครับและก็มีหลายๆเสียงของน้องๆนักศึกษาก็โอดครวญกันอย่างมากมายว่าทำไมแนวข้อสอบที่อาจารย์บอกมาถึงออกไม่ตรงกับข้อสอบเลยวันนี้พี่จะมาเผยกลเม็ดเด็ดในการพิชิตข้อสอบสับขาหลอกให้อ่านกันครับ

กฎข้อที่ 1 อย่าเชื่อแนวมาก

แน่นอนครับกฎข้อนี้มันอาจจะไปขัดใจกับน้องๆอย่างแน่นอนแต่เชื่อเถอะครับมันใช้ได้ผลจริงๆบางครั้งหรือหลายๆครั้งแนวที่อาจารย์ท่านได้บอกท่านอาจจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอครับหรือที่ศัพท์ชาวบ้านเรียกว่า " สับขาหลอก " ทำไมนะหรอก็เพราะว่าสิทธิในการออกข้อสอบอยู่ที่อาจารย์นะสิครับ ฉะนั้น สิ่งที่เราทำได้ก็คือการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอครับ

กฎข้อที่ 2 อ่านหนังสือเผื่อมาบ้าง

กฎข้อนี้คงจะจริงที่สุดเพราะเด็กๆส่วนใหญ่มักจะชอบอ่านหนังสืออยู่แค่ในขอบข่ายหรือแนวที่อาจารย์ท่านบอกมาซึ่งเป็นวิธีการที่ผิดอย่างมากครับ ฉะนั้น การเตรียมพร้อมที่ดีเราก็ต้องอ่านหนังสือเผื่อๆเนื้อหามาด้วยเพื่อใช้แก้ปัญหาในห้องสอบในกรณีที่เกิดข้อสอบแบบ " สับขาหลอก "

กฎข้อที่ 3 สิ่งที่อาจารย์บอกในห้องเรียนว่าไม่ออกสอบท่านมักเอามาออกสอบ

หลายๆคนที่เข้าเรียนหรือฟังคำบรรยายย้อนหลังและอาจารย์ก็มักจะบอกแนวอยู่เสมอแต่น้องๆก็ต้องระวังไว้ด้วยนะครับคำพูดของอาจารย์นั้นเชื่อไม่ค่อยได้เพราะว่า อะไรที่อาจารย์บอกว่าจะไม่ออกสอบท่านมักจะเอามาออกสอบได้เสมอส่วนอะไรที่ท่านบอกว่าออกสอบท่านก็มักจะไม่เอามาออกสอบแบบดื้อๆได้ครับ

กฎข้อที่ 4 ศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้ที่อื่นบ้าง

ถ้าน้องๆอ่านหนังสือเรียนแล้วยัง งงๆกับภาษาของหนังสือพี่แนะนำเลยครับลองค้นหาใน Google ดูครับบทความต่างๆในเว็บไซต์นี้อ่านเข้าใจง่ายกว่าหนังสือเรียนมากๆ

( ขอแถมอีกนิดนึงนะครับการออกข้อสอบในยุคที่คณะรัฐศาสตร์รามเปลี่ยนแปลงนโยบายนั้นอะไรหลายๆอย่างก็เปลี่ยนไปซึ่งมันอาจจะเป็นของใหม่กับน้องๆรัฐศาสตร์แต่ถ้าเมื่อเทียบกับนิติศาสตร์มันเป็นเรื่องธรรมดามากๆครับ ฉะนั้น สิ่งที่น้องๆต้องทำก็คือการเตรียมความพร้อมให้พร้อมอยู่เสมอ )

ม้าที่แข่งขันชนะมักจะฟิตซ้อมมาอย่างดี การเรียนก็เช่นกัน

( P. Boom ) เขียน

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการดูศัพท์ให้แม่นเว่อฉบับปลาทอง


เมื่อพูดถึงวิชา ENG น้องๆหลายๆคนก็คงจะขยาดมิใช่น้อยเพราะมันคือวิชาในตำนานที่เค้าว่ากันว่า
ยากมากๆแต่จริงๆแล้วใครจะไปรู้ว่าภาษาอังกฤษนั้นเทคนิคที่สำคัญก็คือการรุ้คำศัพท์เพราะการรู้คำศัพท์นั้นจะทำให้เราสามารถอ่านออกและแปลได้วันนี้พี่จะมาเขียนถึงเทคนิคการท่องศัพท์ให้จำแบบแม่นเป๊ะฉบับคนมีเวลาน้อยและเป็นโรคปลาทองให้ได้อ่านกันครับ

1. ท่องศัพท์วันละ 30 นาที

เทคนิคนี้ได้ผลเป็นอย่างมากครับซึ่งเหมาะมากๆสำหรับคนที่ความจำไม่ได้ดีท่องวันละนิดจิตแจ่มใส่จริงๆครับ

2. ท่องทุกวัน

การท่องทุกวันวันละนิดวันละหน่อยนั้นจะทำให้เราซึมซับคำศัพท์ได้เองครับน้องๆลองนึกดูสิท่องครบ 30 วันเราจะสามารถจำศัพท์ได้เยอะมากๆครับ

3. ฝึกทำข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

การทำข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ( Pre test / Post test ) เป็นเทคนิคที่จะทำให้น้องๆรู้คะแนนขั้นต่ำในวิชานั้นๆที่สำคัญก็สามารถเอามาใช้ทดสอบในวิชา ENG ด้วยครับโดยวิธีการนั้น คือ ก่อนที่น้องจะอ่านหนังสือหรือศึกษาหใ้ทำข้อสอบรอบแรกก่อนเพื่อดูคะแนนพอรู้แล้วคราวนี้เราก็ตะลุยอ่านรัวๆเลยครับศึกษาให้แม่นแล้วมาทำข้สออบอีกทีเพื่อดูคะแนนและความเปลี่ยนแปลงครับ

4. ใช้ App ดิชในการแปลสิ่งต่างๆรอบตัวดูสิ

เทคนิคที่จะทำให้เรารอบรู้เรื่องคำศัพท์นั้นในยุคสมัยใหม่นี้ก็คงหนีไม่พ้นการโหลด App ดิชในการช่วยแปลแล้วเวลาเราไปเที่ยวที่ไหนเราสงสัยสิ่งของอะไรก็ลองใช้ดิชในการแปลดูสิแล้วเราก็จะได้คำศัพท์ใหม่ๆอย่างมากมาย

5. ลองฝึกพูดภาษาอังกฤษกับเพื่อนๆดูสิ

อย่าเขิลที่จะพูดภาษาอังกฤษครับน้องๆก็ลองแต่งประโยคโดยใช้คำศัพท์ที่เราเรียนนี่แหละมาฝึกพูดกับเพื่อนๆดูพูดทุกๆวันรับรองน้องๆจำได้แบบแม่นแบบจับวางแน่นอนครับ

( P. Boom ) เขียน

กดติดตาม Facebook ผู้เขียนที่ https://www.facebook.com/tutorkrisada

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผลงานของเพจตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ทำงานเพื่อสังคม


( ผลงานของเพจรัฐศาสตร์รามเพื่อนเรียนที่ผ่านมา )

- กิจกรรมติวจิตอาสาวิชา LAW 3016 ทำถึงรุ่นที่ 10 แล้ว



กิจกรรมติวจิตอาสา LAW 3016
- กิจกรรมติวจิตอาสาวิชา ENG 1001 วิทยากรโดยรุ่นพี่ ป.โท จุฬา ทำมา 2 รุ่นแล้ว

กิจกรรมติวจิตอาสาวิชา ENG 1001

- กิจกรรมแนะแนวทางการเรียน

กิจกรรมแนะแนวทางการเรียน
- กิจกรรมเปิดโลกการศึกษาที่สถาบัน NIDA

กิจกรรมเปิดโลกการศึกษาที่สถาบัน NIDA
- กิจกรรมติวจิตอาสาวิชา POL 2101

กิจกรรมติวจิตอาสาวิชา POL 2101
- กิจกรรมเที่ยว ได้เพื่อน ฝึกภาษา ทำมา 2 รุ่นแล้ว

กิจกรรมเที่ยว ได้เพื่อน ฝึกภาษา
- กิจกรรมทัศนศึกษาเชิงประวัติศาสตร์



กิจกรรมทัศนศึกษาเชิงประวัติศาสตร์

- ทีมแอดมินได้รับเชิญให้เป็นวิทยากร

P.Boom ถูกเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายวิชา POL 1101
- ทีมแอดมินได้รับเชิญให้เป็นวิทยากร

P.ปอง ถูกเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายวิชา ENG 1001

- ทีมแอดมินได้รับเชิญให้เป็นวิทยากร

P.ปาม ถูกเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายวิชา POL 2101
- กิจกรรมติว LAW 3016 รุ่นที่ 10

กิจกรรมติว LAW 3016 รุ่นที่ 10


- P. Boom ได้รับเชิญจากพรรคพลังรามไปบรรยายวิชา POL 1101 / 3101 มีผู้ร่วมงานกว่า 100 คน
  เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2558

บรรยายวิชา POL 1101 / 3101 จัดโดยพรรคพลังราม

อ่านหนังสืออย่างไรไม่ให้ง่วง


   ช่วงนี้น้องๆ ม.รามคำแหงก็คงจะอยู่ในช่วงสอบปลายภาคกันและแน่นอนครับเมื่อมีการสอบการเตรียมตัวอ่านหนังสือก็คือภารกิจหลักที่นักศึกษาทุกคนต้องทำแต่ปัญหาที่ตามมาหลังจากการอ่านหนังสือนั่นก็คืออาการง่วงหงาวหาวนอนและวันนี้พี่มีวิธีการกำจัดอาการเหล่านี้มาฝากน้องๆครับ

1. เลือกที่อ่านหนังสือช่วยได้นะ

   หนึ่งในวิธีที่ทำให้พี่ไม่ง่วงเวลาอ่านหนังสือนั่นก็คือการเลือกสถานที่อ่านหนังสือโดยส่วนตัวพี่ชอบอ่านหนังสือในที่ที่เป็นธรรมชาติ เช่น สวนสาธารณะหรือห้องสมุดชุมชนท่ามกลางธรรมชาติและในปัจจุบันก้มีตั้งอยู่ทั่วไปในกรุงเทพมหานครครับ

2. หาอะไรเปรี้ยวๆกินตอนอ่านช่วยได้แล

   แน่นอนละครับเวลาเราอ่านหนังสือไปซักพักอาการง่วงก็คงต้องมาและวิธีที่วัยรุ่นทุกคนมักใช้กันก็คือการหาอะไรเปรี้ยวๆมาเป็นคู่ระหว่างกันอ่านหนังสือมันช่วยได้นะ

3. อ่านไปพักไป

   เวลาเราอ่านหนังสือนานๆสายตาก็คงต้องพักผ่อนกันบ้างการหยุดอ่านแล้วออกไปเดินข้างนอกซัก 10 นาทีก็ช่วยได้นะครับต้องลองทำดู

4. อ่านควบคู่กับกาแฟไม่หลับแน่นอน

   แน่นอนละครับกาแฟช่วยได้แน่นอนในยามที่เราง่วง ฉะนั้น ถ้าไม่อยากง่วงก็คงต้องมีกาแฟคู่กับการอ่านหนังสือ

5. อ่านไปเปิดเพลงบรรเลงเพราะๆฟังไป

   วิธีที่พี่ชอบใช้บ่อยๆเลยนั่นก็คือการอ่านหนังสือไปแล้วก็เปิดเพลงบรรเลงช้าๆเพราะๆฟังไปด้วยเพราะการฟังเลพงบรรเลงนั้นจะทำให้เรามีสมาธิมากยิ่งขึ้นในการอ่านหนังสือครับ

( เทคนิคทั้งหมดนี้พี่ชอบใช้ประจำเหตุผลเพราะว่าพี่เองไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือครับพี่เลยต้องหาวิธีการทำยังไงก็ได้ที่ทำให้พี่ไม่ง่วงเวลาอ่านหนังสือยังไงน้องๆก็ลองเอาไปใช้ดูนะครับ )

( P. Boom ) เขียน




วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เตรียมตัวรับมืออย่างไรถ้าในอนาคตชีทแดงเอาไม่อยู่


   มีน้องๆในกลุ่มทักมาหาพี่อยากมากมายครับว่าทำไมหลังจากที่นโยบายของคณะรัฐศาสตร์ได้เปลี่ยนข้อสอบเป็นอัตนัยนั้นข้อสอบปรนัยถึงยากขึ้นตามไปด้วยในหลายๆวิชาจนทำให้ชีทแดงเอาไม่อยู่จริงๆและจากพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ก็มีความเป็นไปได้ว่าคณะกำลังออกข้อสอบเพื่อหนีชีทแดงจนหมดจึงทำให้ข้อสอบนัน้มีความยากยิ่งขึ้นทั้งอัตนัยและปรนัยแล้วอย่างงี้พวกเราเด็กเราจะเตรียมรับมือกันอย่างไรถ้าในอนาคตชีทแดงจะเอาไม่อยู่ซักวิชาเดียววันนี้พี่ก็จะมาเขียนถึงวิธีการรับมือกันครับว่าถ้าน้องๆทำงานและเรียนไปด้วยหรือเรียนอย่างเดียวเราจะรับมืออย่างไรกับเหตุการณ์ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น

1. จัดตารางเวลาชีวิตของตนเอง

ไม่ว่าน้องๆจะเรียนอย่างเดียวหรือทำงานไปด้วยขึ้นตอนแรกที่จะทำให้เรามีเวลาในชีวิตมากขึ้นที่น้องๆควรทำนั่นก็คือการจัดตารางชีวิตของตนเองเพื่อให้เราได้รู้ว่าในแต่ละวันนั้นน้องๆใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับอะไรเพื่อที่เราะจได้ลดการใช้เวลากับกิจกรรมที่ไม่มีประโยชน์ออกไปแล้วหากิจกรรมที่มีประโยชน์กับเรามาแทนที่

2. ถ้ามีเวลาก็เข้าเรียนถ้าไม่มีเวลาก็ดูคำบรรยายย้อนหลังได้ 

ณ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้สร้างระบบเทปคำบรรยายขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยเหลือน้องๆที่เรียนและทำงานไปด้วย ฉะนั้น การให้เวลากับเทปคำบรรยายวันละนิดก็อาจจะทำให้น้องๆได้รับความรู้ที่มากยิ่งขึ้นครับ

3. ว่างก็ให้อ่านหนังสือ

ในการอ่านหนังสือนั้นเราไม่สามารถที่จะพูดได้เลยว่าไม่มีเวลาครับขอเพียงแค่น้องๆใส่ใจกับมันให้ความสำคัญกับหนังสือเรียนน้องๆก็จะสามารถเข้าใจในเนื้อหาแต่ละวิชาได้ไม่ยากหนักครับ

4. อ่านเสร็จก็ทำสรุปแบบของตนเอง

การทำสรุปในแบบฉบับของตนเองนั้นคือวิธีที่จะทำให้น้องๆเข้าใจเนื้อหาด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

5. ทำ Mindmap สิเข้าใจง่ายมากๆ

โดยปกติสมองคนเราจะสามารถจดจำได้ง่ายขึ้นถ้ามองเป็นรูปภาพ ฉะนั้น การทำ Mindmap ก็คือวิธีที่ดีที่สุดในการทำสรุปเนื้อหาสำคัญในแต่ละวิชา

6. หาข้อสอบเก่าๆมาฝึกทำ

การฝึกทำข้อสอบเก่าๆนั้นจะสามารถทำให้เราเขียนข้อสอบอัตนัยได้ไม่ยากและก็รวมถึงข้อสอบปรนัยด้วย

7. หาข้อมูลใน Google เข้าใจง่ายมากๆ

นอกจากน้องๆจะศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือเรียนและคำบรรยายแล้วแหล่งข้อมูลที่สำคัญอีกที่หนึ่งที่น้องๆจะพลาดไม่ได้เลยและก็เป้นข้อมูลแบบที่อ่านเข้าใจง่ายด้วยนั่นก็คือ Google ครับในเว็บไซต์นี้มีทุกอย่างในโลกให้น้องๆได้ค้นคว้าแถมเขียนบทความได้อย่างน่าอ่านอีกด้วย

(P. Boom ) เขียน