( เทคนิคการวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบอัตนัยรัฐศาสตร์ )
พี่คาดว่าลักษณะการออกข้อสอบอัตนัยแนวใหม่ในภาค 60 นี้ลักษณะข้อสอบจะเป็น ดังนี้
1.ในข้อสอบ 1 ข้อจะถามคำถามหลายข้อ
ลักษณะแบบนี้จากเมื่อก่อนที่ข้อสอบอัตนัยจะถามแค่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งแต่ในอนาคตข้อสอบอัตนัยจะถามหลายประเด้นมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น
จงตอบคำถามว่าทฤษฏีองค์การใดที่สามารถอธิบายระบบราชการไทยได้และทฤษฏีระบบราชการมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับการบริหารประเทศและจากแนวคิดของ Mayo สามารถนำมาอธิบายระบบราชการไทยได้อย่างไรและกลุ่มในองค์การภาครัฐมีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างไรและมีไว้ทำไม จงตอบ ?
จากตัวอย่างข้างต้นมีประเด็นในการวิเคราะห์คำถามสามารถแยกได้ 8 ประเด็นที่จะต้องอธิบาย คือ
1.1 ทฤษฏีองค์การ คืออะไร ?
1.2 แนวคิดระบบราชการ คืออะไร ?
1.3 ความเกี่ยวข้องของแนวคิดระบบราชการกับการบริหารประเทศ
1.4 แนวคิดของ Mayo ?
1.5 ความเกี่ยวข้องของแนวคิด Mayo กับระบบราชการไทย ?
1.6 กลุ่ม คืออะไร ?
1.7 บทบาทของกลุ่มมีอะไรบ้าง ?
1.8 กลุ่มมีไว้ทำไม ?
2. ข้อสอบจะถามเชิงคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำไปสอบ
ประเด็นนี้คงไม่ต้องถามกันมากลักษณะข้อสอบอัตนัยในช่วงปี 57 ในตอนที่เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นอัตนัยใหม่ๆนั้นลักษณะจะค่อนข้างเป็นไปในทางท่องจำมากกว่าแต่ในอนาคตข้อสอบจะเป็นเชิงวิเคราะห์และตั้งคำถามมากยิ่งขึ้นและในปัจจุบันข้อสอบก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในแนวนี้อย่างช้าๆกันแล้วครับ
3. ข้อสอบออกเนื้อหาเดิมแต่เพิ่มเติมคือการใช้คำที่ดูวิชาการมากขึ้น
การใช้คำในการตั้งคำถามข้อสอบนั้นคืออีกส่วนหนึ่งที่เป้นตัวหลอกล่อให้นักศึกษาไม่เข้าใจกับข้อสอบจนทำให้คิดไปว่าข้อสอบมันยากแต่จริงๆแล้วจุดมุ่งหมายก็ไม่ต่างมากแค่ใช้คำเปรียบเปรยให้เรามานั่งคิดต่อยอดกันเอง เช่น
'' องค์กรอิสระใดที่มีหน้าที่ในการสรรหาคนเข้าไปทำงานในรัฐสภา ? ''
( จากคำถามข้างต้นนั้นคำถามไม่ได้ถามตรงๆว่าองค์กรอิสระที่ว่านั้นคือองค์กรใดเพราะถ้านักศึกษาได้ศึกษาข้อมูลมาอย่างดีน้องๆก็จะเข้าใจทันทีว่าองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ในการสรรหาคนเข้าไปสู่ระบบรัฐสภานั้น คือ '' คณะกรรมการการเืลอกตั้ง '' หรือเรียกย่อๆว่า กกต. นั่นเอง )
#พี่บูม เขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น