( เทคนิคการอ่านหนังสือที่ไม่ต้องเยอะแต่เข้าใจได้เยอะแยะ )
น้องๆหลายคนอาจจะคิดว่าการอ่านหนังสือให้ได้เข้าใจมากๆนั้นเราจะต้องอ่านให้จบเป็นหลายๆเล่มและอ่านให้นานที่สุด แต่ในความคิดของพี่นั้นมันอาจจะไม่ได้ผลมากนักและตัวพี่ก็เป็นคนที่อ่านหนังสือนานมากไม่ค่อยได้แต่พี่ก็มีวิธีในการอ่านที่ไม่เหมือนใคร คือ อ่านน้อยแต่เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
1. ดูสารบัญหนังสือและคำนำ
ก่อนที่เราจะเริ่มลงมืออ่านเนื้อหาหนังสือในเล่มนั้นการดูสารบัญและคำนำของหนังสือนั้นจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาหนังสือนั้นแบบภาพรวมที่ชัดเจนมากๆเพราะหลายๆคนมักจะไม่ชอบอ่านสารบัญและคำนำเพราะคิดว่ามันไม่สำคัญแต่หารู้ไม่ว่าสารบัญและคำนำในหนังสือนั้นเปรียบเสมือนกับเนื้อหาและขอบข่ายทั้งหมดของหนังสือนั้นๆเลยซึ่งเมื่อเราเข้าใจสารบัญและคำนำแล้วเราก็จะสามารถรู้ได้ว่าเราควรจะอ่านอะไรบ้าง
2. อ่านนานไม่เท่ากับอ่านและทำ mindmap
การอ่านหนังสือนานๆนั้นมันไม่สามารถทำให้เราเข้าใจเนื้อหาในเรื่องนั้นๆได้ทั้งหมดเพราะมันเปรียบเสมือนกับการที่เราเอาเนื้อหาทั้งหมดมาอัดลงสมองจนเกินควรแต่ก็มีวิธีการหนึ่งที่จะสามารถย่อยข้อมูลอันมากมายมหาศาลของหนังสือเล่มนั้นลงมาเป็นรูปภาพได้ด้วยการทำ My mapping ครับ การทำ My mapping นั้น คือ การทำแผนภาพความคิดโดยการเอาข้อมูลในหนังสือเรื่องนั้นมาย่อยและทำเป็นประเด็นทางองค์ความรู้เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจได้ว่าในแต่่ละเรื่องที่เราอ่านนั้นมันมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
3. หัดรู้จักตั้งคำถามในหนังสือที่เราอ่านบ้าง
การอ่านหนังสือแบบขอจบไวๆนั้นมันไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับเราอ่านและรู้จักตั้งคำถามและข้อสงสัยในเรื่องนั้นๆด้วย การตั้งคำถามนั้นเปรียบเสมือนกับการต่อยอดทางองค์ความรู้ในเรื่องที่เราอ่านครับเพราะมันจะทำให้เราสามารถที่จะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคำถามที่เราสงสัยจากหนังสือเรื่องนั้นและก็เกิดกระบวนการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ครับ
4. พักสมองเสียบ้างด้วยการฟังเพลงบรรเลงเบาๆ
การจดจ่ออยู่กับหนังสือนานๆแน่นอนครับมันจะทำให้เราเครียดมากๆ ฉะนั้น สมองก็ต้องการพักผ่อนและการผักผ่อนที่ดีที่สุดของพี่ คือ การฟังเพลงบรรเลงครับ เพลงบรรเลงนั้นก็มีหลายรูปแบบส่วนตัวพี่ชอบฟังเพลงบรรเลงกูฉินจีนโบราณครับหรือถ้าน้องๆไม่ชอบก็สามารถจะฟังเพลงบรรเลงโมสาร์ทก็ได้น่ะครับ
( P. Boom ) เขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น