( ทําไมรัฐศาสตร์ถึงเป็นราชาแห่งศาสตร์ )
ในการเรียนรัฐศาสตร์นั้นเรามักจะได้ยินคําคมซึ่งได้ถูกกล่าวไว้โดย อริสโตเติ้ล ไว้ว่า รัฐศาสตร์ ราชาแห่งศาสตร์ และก็เกิดคําถามที่ว่าทําไมรัฐศาสตร์จึงอยู่เหนือทุกศาสตร์และคําคมนี้มันมีเหตุผลทางตรรกะมากแค่ใหน วันนี้ผู้เขียนจะมาอธิบายในนิยามที่ว่า รัฐศาสตร์ คือ ราชาแห่งศาสตร์ ให้เข้าใจกันครับ
1. รัฐศาสตร์ กับ สังคม
ในหลักการของรัฐศาสตร์นั้นจะมุ่งศึกษาในเรื่องของสังคมกล่าวคือ จะมุ่งศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ชุมชน และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางการเมืองในสังคม และในสังคมนั้นก็สามารถที่จะแบ่งแยกกลุ่มศาสตร์ต่างๆในสังคมได้อีกด้วยและก็เชื่อมโยงถึงการพัฒนาซึ่งกันและกัน อาทิ
ในหลักการของรัฐศาสตร์นั้นจะมุ่งศึกษาในเรื่องของสังคมกล่าวคือ จะมุ่งศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ชุมชน และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางการเมืองในสังคม และในสังคมนั้นก็สามารถที่จะแบ่งแยกกลุ่มศาสตร์ต่างๆในสังคมได้อีกด้วยและก็เชื่อมโยงถึงการพัฒนาซึ่งกันและกัน อาทิ
1.1 วิทยาศาสตร์
1.2 การกีฬา
1.3 การท่องเที่ยว
1.4 ชุมชน
1.5 พฤติกรรมมนุษย์
1.6 สิ่งแวดล้อม
1.7 พลังงาน
1.8 และอื่นๆอีกมากมายในจุลภาคของสังคม
1.2 การกีฬา
1.3 การท่องเที่ยว
1.4 ชุมชน
1.5 พฤติกรรมมนุษย์
1.6 สิ่งแวดล้อม
1.7 พลังงาน
1.8 และอื่นๆอีกมากมายในจุลภาคของสังคม
กล่าว คือ รัฐศาสตร์ก็จะมุ่งศึกษาในภาพรวมของเรื่องต่างๆเหล่านี้ด้วยซึ่งจะศึกษาถึงความเป็นมาและจิตวิทยาของแต่ล่ะเรื่องแต่จะไม่ลงลึกถึงกรรมวิธีการทํางานในแต่ล่ะเรื่องแต่จะอธิบายโครงสร้างทางพื้นฐานและปรัชญาในแต่ล่ะภาคส่วนเท่านั้นอีกทั้งในสาขาที่แตกแขนงออกไปก็ล้วนเป็นเรื่องของการพัฒนารัฐและประเทศและรัฐศาสตร์ก็เป็นศาสตร์ที่ศึกษาในเรื่องของ รัฐ การเมือง และการพัฒนา
2. รัฐศาสตร์ กับ เศรษฐกิจ
ในหลักทางรัฐศาสตร์นั้นก็มุ่งที่จะศึกษาในเรื่องเศรษฐกิจด้วยเพราะกล่าวได้ว่าระบบเศรษฐกิจนั้น คือ ระบบที่สามารถที่จะพัฒนาประเทศได้โดยรัฐศาสตร์ก็จะเอาหลักทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ในการอธิบายถึงกลไกทางเศรษฐกิจที่สําคัญๆและในระบบเศรษฐกิจนี้เองก็จะแบ่งแยกย่อยออกเป็นศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวกับการเงินและเศรษฐศาสตร์อย่างมากมาย อาทิ
2.1 การเงินการธนาคาร
2.2 เศรษฐศาสตร์
2.3 การบัญชี
2.4 การบริหาร
2.5 การจัดการ
2.6 ศาสตร์ผู้นําองค์กร
2.7 และอื่นๆอีกมากมายในจุลภาคของเศรษฐกิจ
2.2 เศรษฐศาสตร์
2.3 การบัญชี
2.4 การบริหาร
2.5 การจัดการ
2.6 ศาสตร์ผู้นําองค์กร
2.7 และอื่นๆอีกมากมายในจุลภาคของเศรษฐกิจ
3. รัฐศาสตร์ กับ การเมือง
ในหลักการทางรัฐศาสตร์นั้นก็จะมุ่งศึกษาถึงระบบการเมืองทั้งระบบด้วยซึ่งจะศึกษาทั้งปรัชญาการเมืองในรูปแบบต่างๆทั่วโลก ระบบกฏหมายที่มีความเชื่อมโยงกับระบบการเมือง รวมทั้งปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆทางการเมืองที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาหรือการถอยหลังในเวลาเดียวกัน และในภาคการเมืองนี้เองก็มีการแตกแขนงออกเป็นศาสตร์ต่างๆอย่างมากมาย อาทิ
3.1 กฏหมาย
3.2 เศรษฐศาสตร์การเมือง
3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.4 การจัดองค์กรในภาคมหาชน
3.5 การเมืองการปกครอง
3.6 รัฐประศาสนศาสตร์
3.7 และอื่นๆอีกมากมายในจุลภาคของการเมือง
3.2 เศรษฐศาสตร์การเมือง
3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.4 การจัดองค์กรในภาคมหาชน
3.5 การเมืองการปกครอง
3.6 รัฐประศาสนศาสตร์
3.7 และอื่นๆอีกมากมายในจุลภาคของการเมือง
สรุป นิยามของ อริสโตเติ้ล ที่ว่า รัฐศาสตร์ คือ ราชาแห่งศาสตร์ นั้นมีตรรกะรองรับ เพราะว่า รัฐศาสตร์นั้นมุ่งศึกษาถึง ระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง และในระบบต่างๆเหล่านี้ก็มีจุลภาคในระดับเล็กที่แตกแขนงต่างๆอีกมากมายและก็มีแนวคิดของ Huntington ก็พูดไว้ในแนวที่ว่า การพัฒนาการเมืองนั้น คือ การพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง และในเรื่องของการพัฒนาการเมืองนี้เองก็คือ แนวคิดที่อยู่ในรัฐศาสตร์ ที่ครอบคลุมในทุกแนวคิด กล่าวคือ รัฐศาสตร์ คือ การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลกนั่นเอง
( หมายเหตุ / การเรียนรัฐศาสตร์อย่างเข้าใจนั้นจะต้องศึกษาในทุกๆศาสตร์และทุกสาขา กล่าวคือ รัฐศาสตร์คือศาสตร์ที่จะสร้างให้เราเป็นคนรอบรู้ในรอบด้านเพราะรัฐศาสตร์นั้นอยู่รอบตัวเราและรอบด้านครับผม )
( P. Boom ) เขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น