วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการทำข้อสอบอัตนัยรัฐศาสตร์



( เทคนิคการทำข้อสอบอัตนัยและการเตรียมพร้อม )



1. ไม่รู้จะเขียนอะไรดี

     
ปัญหาตรงนี้เจอกันบ่อยมากๆสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดเขียนแบบว่าพอเห็นข้อสอบและเห็นคำตอบถึงกับตึงไปเลยเพราะคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไรลงไปดีปัญหาตรงนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุที่น้องๆอ่านหนังสือมาน้อยหรืออ่านหนังสือก่อนสอบไม่กี่อาทิตย์มันจึงทำให้เราไม่สามารถที่จะปรับตัวกับสภาพที่ต้องรับข้อมูลอันมหาศาลมาจดจำและทำความเข้าใจได้

2. เขียนได้ไม่เยอะเลย

ปัญหาตรงนี้จะเจอกันบ่อยมากแบบว่าเจอข้อสอบวิเคราะห์แต่ดันเขียนได้ไม่เยอะและก็ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรต่อดี

3. ต้องท่องจำมาเขียนหรือป่าว

ปัญหาตรงนี้เจอกันบ่อยมากๆครับแบบว่าน้องๆชอบไปท่องชีทแดงหรือหนังสือมาตอบแต่เวลาเขียนดันเขียนได้ไม่เยอะและก็สอบตกกันตามระเบียบ

4. เขียนไปตั้งเยอะทำไมถึงตก

ปัญหาโลกแตกที่เจอกันบ่อยมากๆครับสาเหตุนั้นก็เกิดจากการที่เราเขียนไม่ค่อยจะตรงกับสิ่งที่อาจารย์ท่านถามมันจึงทำให้เราสอบตกครับ

5. เขียนไปซักพักตัน

ปัญหาตรงนี้เจอบ่อยมากๆครับแบบว่าเขียนอยู่ดีๆดันขึ้นไม่ออกซ่ะงั้นปัญหาตรงนี้แก้ได้ไม่ยากครับเดี่ยวรออ่านบทต่อไปกันเลย

( วิธีฝึกฝนการเขียนและการเตรียมพร้อม )

1. สะสมข้อมูล ( อ่านหนังสือ )

การอ่านหนังสือมากๆมันก็ทำให้เรามีคลังความรู้ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นและการที่เราจะสามารถเขียนได้มากขึ้นมันก็อยู่ปริมาณและความเข้าใจของหนังสือที่เราอ่าน ฉะนั้น ท่านจะเขียนข้อสอบไม่ได้เลยหากปราศจากการรักการอ่านเพราะการอ่านนั้นทำให้เรามีความรู้ที่เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

2. ทำ Mindmap

สมองของคนเรานั้นจะสัมพันธ์ที่จะรับรู้ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ฉะนั้น การที่เราจะสามารถอ่านหนังสือและจดจำข้อมูลในหนังสือนั้นๆได้อย่างมากมายนั้นการทำ Mindmap ก็คือหนทางที่ดีที่สุดอีกทั้งการทำ Mindmap ยังทำให้เราเข้าใจข้อมูลอย่างมหาศาลได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

3. ทำโครงสร้างการเขียน

การทำโครงสร้างการเขียนนั้น คือ การวาดประเด็นในการเขียนข้อสอบไว้ในกระดาษเพื่อดูว่าในข้อสอบข้อนั้นมันมีประเด็นอะไรบ้าง ฉะนั้น เราต้องเขียนเพื่อที่จะทำให้เรานั้นเขียนข้อสอบได้อย่างมีระบบ

4. ทำสรุปทุกบท

เวลาเราอ่านหนังสือวิชานั้นจบหนึ่งบทก็ให้เราเขียนสรุปในสิ่งที่เราได้และก็เข้าใจในบทนั้นโดยเขียนมาเป็นสรุปใส่กระดาษโดยที่ไม่ต้องเปิดหนังสือบทนั้นดูเพราะการเขียนสรุปหลังจากเราอ่านจบครบทุกๆหนึ่งบทนั้นจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้อย่างครบถ้วนและก็ไม่กดดันตัวเอ

( กระบวนการคิดต่อยอดการเขียน )

1. หลักการ What

หลักการคิดตั้งคำถาม What นั้นคือกระบวนการตั้งคำถามเวลาเราเขียนข้อสอบไปได้ซักพักแล้วเราก็ตันแล้วเราก็ตั้งคำถามในเรื่องที่เราเขียนนั้นว่ามัน คือ อะไรเพื่อที่เราจะสามารถรู้ข้อมูลเรื่องต่อๆไปที่เราควรจะเขียนได้ว่า อะไรคือสิ่งที่เราต้องค้นหาคำตอบเพื่อมาเขียนในข้อสอบในข้อนั้นๆได้

2. หลักการ How

การตั้งคำถามว่า How ในการทำข้อสอบอัตนัยนั้นจะทำให้เราทราบถึงกระบวนการและวิธีการในคำตอบที่เราจะเขียนได้ เช่น เราเจอคำถามข้อสอบที่มุ่งเน้นให้เราเขียนในเชิงของการแก้ไขปัญหาการใช้หลักการ How จะทำให้เราได้รับรู้ว่าวิธีการที่เราจะเขียนนั้นเราจะต้องเขียนอะไรลงไปนั่นเอง

3. หลักการWhy

หลักการ Why เป็นหลักการตั้งคำถามในตอนที่เราทำข้อสอบแล้วก็ตันในการเขียนเราก็ต้องคิดตั้งคำถามโดยใช้หลักการ Why ในการตั้งคำถามขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถที่จะนึกถึงข้อมูลต่างๆที่เราสะสมไว้ในคลังสมองแล้วก็ดึงมันออกมาเขียนในข้อสอบได้

( P.Boom ) เขียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น